วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

ธุรกิจน้ำผลไม้
1. ข้อมูลทั่วไป
น้ำผลไม้เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูปประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผลผลิตผลไม้สดมีปริมาณมากเกินความต้องการของตลาด ซึ่งทำให้ระดับราคาตกต่ำ และเกิดความสูญเปล่าจากการเน่าเสียได้ง่าย ดังนั้นการนำผลไม้สดดังกล่าวมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้จะทำให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร ให้สูงขึ้น และลดความเสียหายที่เกิดจากข้อจำกัดของอายุการเก็บรักษาลงทั้งนี้ประเภทของน้ำผลไม้สามารถแบ่งออกได้ตามกรรมวิธีการผลิตและความนิยมของตลาดได้ดังนี้
1) น้ำผลไม้เข้มข้น โดยผลิตจากการนำผลไม้แท้จากธรรมชาติไปต้มภายใต้สูญญากาศเพื่อระเหยน้ำบางส่วนออกจนได้น้ำผลไม้ที่เข้มข้น เมื่อจะนำมาบริโภคต้องนำมาผสมน้ำเพื่อเจือจางเสียก่อน น้ำผลไม้ประเภทนี้นิยมผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก เนื่องจากสะดวกต่อการนำไปใช้และประหยัดค่าขนส่ง ทั้งนี้น้ำผลไม้เข้มข้นส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ
2) น้ำผลไม้พร้อมดื่ม เป็นชนิดที่สามารถดื่มได้ทันที ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำผลไม้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของผลไม้ที่นำมาเป็นวัตถุดิบและวิธีการผลิตของโรงงาน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภทย่อย คือ
• น้ำผลไม้ 100 % เช่น น้ำส้ม และ น้ำสับปะรด เป็นต้น
• น้ำผลไม้ 25 - 50 % เช่น น้ำฝรั่ง และน้ำมะม่วง ซึ่งไม่สามารถผลิตเป็นน้ำผลไม้พร้อมดื่ม 100% ได้ ต้องนำมาเจือจางและปรุงแต่งรสชาติก่อน
3) น้ำผลไม้ปรุงแต่งกลิ่น ผลิตโดยการนำผลไม้ หรือเนื้อผลไม้ประมาณ 25% ขึ้นไปเจือสีสังเคราะห์แล้วทำให้เข้มข้นด้วยน้ำตาล โดยก่อนจะดื่มต้องนำไปผสมน้ำตามอัตราส่วนที่ระบุเพื่อลดความเข้มข้น ทั้งนี้น้ำผลไม้ประเภทปรุงแต่งกลิ่นของแต่ละผู้ผลิต จะมีอัตราส่วนของการทำให้เจือจางแตกต่างกัน
4) น้ำผลไม้สำเร็จรูปชนิดผง เป็นการผลิตโดยการนำน้ำผลไม้มาคั้นระเหยน้ำออกแล้วปั่นแห้งให้เป็นผง แล้วนำมาบรรจุในถุงชงเพื่อความสะดวกในการบริโภค น้ำผลไม้สำเร็จรูปชนิดผงที่เห็นกันมากที่สุด ได้แก่ ส้ม มะตูม ขิง เป็นต้น
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 214 ) พ.ศ.2543 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา6(1)(2)(4)(6)(7) และ (10) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักร ไทยบัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 62 (พ.ศ.2524) เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะ บรรจุที่ปิดสนิท ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2542 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 180) พ.ศ.2542 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2540
ข้อ 2 ให้เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ
ข้อ 3 เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามข้อ 2 แบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังต่อไปนี้
(1) น้ำที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจนผสมอยู่ด้วย
(2) เครื่องดื่มที่มีหรือทำจากผลไม้ พืชหรือผัก ไม่ว่าจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือออกซิเจนผสมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม
(3) เครื่องดื่มที่มีหรือทำจากส่วนผสมที่ไม่ใช่ผลไม้ พืชหรือผัก ไม่ว่าจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือออกซิเจน ผสมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม
(4) เครื่องดื่มตาม (2) หรือ (3) ชนิดเข้มข้นซึ่งต้องเจือจางก่อนบริโภค
(5) เครื่องดื่มตาม (2) หรือ (3) ชนิดแห้ง
ข้อ 4 เครื่องดื่มตามข้อ 2 ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) มีกลิ่นและรสตามลักษณะเฉพาะของเครื่องดื่มนั้น
(2) ไม่มีตะกอน เว้นแต่ตะกอนอันมีตามธรรมชาติของส่วนประกอบ
(3) น้ำที่ใช้ผลิตต้องเป็นน้ำที่มีคุณภาพ หรือมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
(4) ตรวจพบแบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์มน้อยกว่า 2.2 ต่อเครื่องดื่ม 100 มิลลิลิตร โดยวิธี เอ็ม พี เอ็น (Most Probable Number)
(5) ตรวจไม่พบแบคทีเรียชนิด อี.โคไล (Escherichia coli)
(6) ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
(7) ไม่มีสารเป็นพิษจากจุลินทรีย์หรือสารเป็นพิษอื่นในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(8) ไม่มียีสต์และเชื้อรา
(9) ไม่มีสารปนเปื้อน เว้นแต่ดังต่อไปนี้
(9.1) สารหนู ไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อเครื่องดื่ม 1 กก.
(9.2) ตะกั่ว ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อเครื่องดื่ม 1 กก.
(9.3) ทองแดง ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อเครื่องดื่ม 1 กก.
(9.4) สังกะสี ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อเครื่องดื่ม 1 กก.
(9.5) เหล็ก ไม่เกิน 1 5 มิลลิกรัมต่อเครื่องดื่ม 1 กก.
(9.6) ตะกั่ว ไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อเครื่องดื่ม 1 กก.
(9.7) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อ เครื่องดื่ม 1 กก.
(10) ใช้วัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลหรือใช้ร่วมกับน้ำตาล นอกจากการใช้น้ำตาลได้ โดยให้ใช้วัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลได้ตามมาตรฐานอาหาร เอฟ เอ โอ/ดับบลิว เอช โอ, โคเด็กซ์ (Joint FAO/WHO, Codex) ที่ว่าด้วยเรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร และฉบับที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม
ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานกำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร
(11) มีแอลกอฮอล์อันเกิดขึ้นจากธรรมชาติของส่วนประกอบและแอลกอฮอล์ที่ใช้ในกรรมวิธีการผลิต รวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของน้ำหนัก ถ้าจำเป็นต้องมีแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงกว่าที่กำหนดไว้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แอลกอฮอล์ที่ใช้ในกรรมวิธีการผลิตต้องไม่ใช้เมทิลแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชนิดเข้มข้นที่ต้องเจือจางหรือเครื่องดื่มชนิดแห้งที่ต้องละลายก่อนบริโภคตามที่กำหนดไว้ในฉลาก เมื่อเจือจางหรือละลายแล้วตรวจพบแบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์มได้ตาม (4) และมี สารปนเปื้อนได้ตามที่กำหนดไว้ใน (9)
ข้อ 5 เครื่องดื่มตามข้อ 3 นอกจากต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามข้อ 4 แล้ว ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานเฉพาะ ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) เครื่องดื่มตามข้อ 3(2) ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามประเภทหรือชนิดของผลไม้ พืชหรือผักนั้นๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(2) เครื่องดื่มตามข้อ 3(2) ชนิดเข้มข้นหรือชนิดแห้ง เมื่อเจือจางหรือละลายแล้วต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามประเภทหรือชนิดของผลไม้ พืชหรือผักนั้นๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(3) เครื่องดื่มชนิดแห้งมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 6 ของน้ำหนัก ถ้าเป็นเครื่องดื่มชนิดแห้งที่ผลิตจากพืชหรือผัก ให้มีความชื้นได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(4) เครื่องดื่มตามข้อ 3(2) หรือ 3(3) มีวัตถุกันเสียได้ ดังต่อไปนี้
(4.1) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไม่เกิน 70 มิลลิกรัม ต่อเครื่องดื่ม 1 กิโลกรัม
(4.2) กรดเบนโซอิค หรือ กรดซอร์บิค หรือ เกลือของกรดทั้งสองนี้ โดยคำนวณเป็น ตัวกรดได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม ต่อเครื่องดื่ม 1 กิโลกรัม เครื่องดื่มตามข้อ 3(2) หรือ 3(3) ชนิดเข้มข้น เมื่อเจือจางแล้วมีวัตถุกันเสียได้ ไม่เกินที่กำหนดไว้ใน (4) เครื่องดื่มตามข้อ 3(2) หรือ 3(3) ชนิดแห้ง เมื่อละลายแล้วมีวัตถุกันเสียได้ไม่เกินที่กำหนดไว้ใน (4) การใช้วัตถุกันเสียให้ใช้ได้เพียงชนิดหนึ่งชนิดใดตามปริมาณที่กำหนดใน (4.1) หรือ (4.2) ถ้าใช้เกินหนึ่งชนิด ต้องมีปริมาณของชนิดที่ใช้รวมกันไม่เกินปริมาณของวัตถุกันเสียชนิดที่กำหนดให้ใช้น้อยที่สุด
เมื่อจำเป็นต้องใช้วัตถุกันเสียแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ข้อ 6 ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเพื่อจำหน่าย ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร
ข้อ 7 ภาชนะบรรจุที่ใช้บรรจุเครื่องดื่ม ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ภาชนะบรรจุ
ข้อ 8 การแสดงฉลากของเครื่องดื่ม ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ฉลาก เว้นแต่การใช้ชื่อเครื่องดื่มตามข้อ 3(2) ที่มีหรือทำจากน้ำผลไม้ทั้งชนิดเหลวหรือชนิดแห้งและ เครื่องดื่มตามข้อ 3(3) ซึ่งมีกลิ่นหรือรสผลไม้ที่ได้จากการสังเคราะห์ทั้งชนิดเหลวและชนิดแห้ง ให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) เครื่องดื่มตามข้อ 3(2) ให้ใช้ชื่อ ดังนี้
(1.1) "น้ำ ....... 100%" (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชื่อผลไม้) สำหรับเครื่องดื่มที่มีหรือทำจากผลไม้ล้วน
(1.2) "น้ำ ....... 100% จากน้ำ ....... เข้มข้น” (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชื่อผลไม้)
สำหรับเครื่องดื่มที่ทำจากการนำผลไม้ชนิดเข้มข้นมาเจือจางด้วยน้ำ เพื่อให้มีคุณภาพหรือมาตรฐานเหมือนกับเครื่องดื่มตาม (1.1)
(1.3) "น้ำ .......%" (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชื่อและปริมาณเป็นร้อยละของผลไม้)
สำหรับเครื่องดื่มที่มีหรือทำจากผลไม้ตั้งแต่ร้อยละ 20 ของน้ำหนักขึ้นไป แต่ไม่ใช่เครื่องดื่มตาม (1.1)
(1.4) "น้ำรส .......%" (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชื่อและปริมาณเป็นร้อยละของผลไม้)
สำหรับเครื่องดื่มที่มีหรือทำจากผลไม้ไม่ถึงร้อยละ 20 ของน้ำหนัก
(2) เครื่องดื่มตามข้อ 3(3) ซึ่งมีกลิ่นหรือรสของผลไม้ที่ได้จากการสังเคราะห์เป็น ส่วนผสมให้ใช้ชื่อ ดังนี้ "น้ำหวานกลิ่น....." (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชื่อกลิ่นของผลไม้ที่ได้จากการสังเคราะห์)
(3) เครื่องดื่มตามข้อ 3(4) นอกจากจะต้องใช้ชื่อเครื่องดื่มตาม (1) หรือ (2) โดยไม่ต้อง แสดงปริมาณของผลไม้แล้วจะต้องมีข้อความ “เข้มข้น” ต่อท้ายชื่อดังกล่าว และให้แสดงข้อความ “เมื่อเจือจางแล้วมีน้ำ .......%” (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชนิดและปริมาณของผลไม้) ไว้ใต้ชื่อเครื่องดื่มด้วย
(4) เครื่องดื่มตามข้อ 3(5) นอกจากจะต้องใช้ชื่อเครื่องดื่มตาม (1) หรือ (2) โดยไม่ต้อง
แสดงปริมาณของผลไม้แล้วจะต้องแสดงข้อความ “เมื่อละลายแล้วมีน้ำ .......%” (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชนิดและปริมาณของผลไม้) ไว้ใต้ชื่อเครื่องดื่มแล้ว เครื่องดื่มที่ใช้วัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล ต้องแสดงข้อความว่า “ใช้ ....... เป็นวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล” (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชื่อของวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้) ด้วยตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร สีของตัวอักษรตัดกับสีพื้นของฉลาก ข้อความที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด (ถ้ามี)
ข้อ 9 ประกาศนี้ ไม่ใช้บังคับกับเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในการส่งออก
ข้อ 10 ให้ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือ ใบสำคัญ การใช้ฉลากอาหารตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 62 (พ.ศ.2524) เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2524 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 180) พ.ศ.2540 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 ซึ่งออกให้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับยังคงใช้ต่อไปได้อีกสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 11 ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้าเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ ประกาศนี้ใช้บังคับ ยื่นคำขอรับเลขสารบบอาหารภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เมื่อยื่นคำขอดังกล่าวแล้วให้ได้รับการผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 6 ภายในสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และให้คงใช้ฉลากเดิมที่เหลืออยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดแต่ต้องไม่เกินสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 12 ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2543
2. เครื่องจักร /วัสดุ อุปกรณ์
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ เครื่องตัด/เฉาะผลไม้ เครื่องคั้นนํ้าผลไม้ เครื่องกรองนํ้าผลไม้ เครื่องความดันไอนํ้าใช้ในการฆ่าเชื้อโรค เครื่องบรรจุนํ้าผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ในโรงงานจะต้องมีเครื่องมือวัดความหวานและปริมาณของแข็งที่ละลายทั้งหมด (Refrectrometer) และเครื่องวัดค่าความเป็นกรด/ด่าง หรือค่า pH เพื่อให้นํ้าผลไม้ที่ได้มีมาตรฐานเดียวกัน
3. วัตถุดิบ
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต คือ ผลไม้ประเภทต่างๆ เช่น ฝรั่ง ส้ม กระเจี๊ยบ มะพร้าวสับปะรด เป็นต้น ซึ่งเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ในประเทศ และบางชนิดสามารถให้ผลผลิตเกือบทั้งปี เช่น ฝรั่ง สับปะรด ผู้ผลิตมักจะซื้อผลไม้ในประเทศทั้งหมด ยกเว้นผู้ผลิตรายใหญ่บางรายที่นําเข้านํ้าผลไม้เข้มข้นจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นนํ้าผลไม้ที่ไม่สามารถปลูกในประเทศได้
4. กรรมวิธีการผลิตน้ำผลไม้
กระบวนการผลิตนํ้าผลไม้พร้อมดื่ม น้ำผลไม้สดมาตัดและล้างให้สะอาดแล้วนํามาเฉาะหรือคั้นนํ้าใส่ลงในรางผลิต เพื่อนำไปกรอง จากนั้นผู้ผลิตอาจเติมนํ้า นํ้าตาล สารปรุงแต่ง สารกันบูด (ถ้ามี) แล้วนําไปกรองอีกครั้ง เมื่อกรองเสร็จก็จะให้ความร้อนฆ่าเชื้อด้วยระบบสเตอริไลเซชั่น ระบบพาสเจอร์ไรส์ หรือ ระบบยูเอชที แล้วนําไปบรรจุภาชนะ เช่น กล่อง กระป๋อง ขวด เป็นต้น
กรณีผู้ผลิตรายย่อย มักจะนํานํ้าผลไม้ที่คั้น/ผสมแล้วมาต้มจนเดือด 100 องศาเซลเซียสจากนั้นนํามากรองโดยเร็ว แล้วนําไปบรรจุภาชนะสะอาดและผนึกฝาให้เสร็จในอุณหภูมิไม่ตํ่ากว่า 60 องศาเซลเซียส โดยปกติผู้ผลิตขนาดเล็กมักจะใช้การผลิตนํ้าผัก-ผลไม้ประเภทพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิตํ่า 4-5 องศาเซลเซียส และมีอายุเพียง 15-30 วัน เท่านั้น และร้านค้าต้องมีตู้แช่ ซึ่งเป็นข้อจํากัดอย่างหนึ่ง แต่ทําให้นํ้าผัก-ผลไม้คงคุณค่าทางโภชนาการได้ดีกว่า
การต่อยอดใช้ประโยชน์จากเอกสารสิทธิบัตรนานาชาติ ให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ที่มีเอกลักษณ์
สิทธิบัตรอเมริกาเลขที่ US 2011091608 (A1) เรื่อง “Rebaudioside D ที่มีความบริสุทธิ์สูง และน้ำผลไม้แคลอรี่ต่ำที่มีการบรรจุ Rebaudioside D ที่มีความบริสุทธิ์สูงนั้น”
(High-Purity Rebaudioside D And Low-Calorie Fruit Juice Containing The Same)
Publication date: 2011-04-21
Inventor(s): ABELYAN VARUZHAN [MY]; MARKOSYAN AVETIK [MY]; ABELYAN LIDIA [MY] +
Applicant(s): PURECIRCLE SDN BHD [MY] +
บทคัดย่อ 
การประดิษฐ์นี้เป็นวิธีการผลิต Rebaudioside D ที่มีความบริสุทธิ์ จากพืชหญ้าหวาน Rebaudiana Bertoni พร้อมด้วยสารสกัดจาก Rebaudioside A. วิธีการที่จะเป็นประโยชน์สำหรับการผลิตที่มีความบริสุทธิ์สูง Rebaudioside D และ Rebaudioside A. การประดิษฐ์นี้ เป็นการเตรียมน้ำผลไม้แคลอรี่ต่ำ โดยการใส่ Rebaudioside D และ กระบวนการสำหรับการทำน้ำผลไม้แคลอรี่ต่ำที่มี Rebaudioside D
Abstact
The invention provides methods of purifying Rebaudioside D from the Stevia rebaudiana Bertoni plant extract along with Rebaudioside A. The methods are useful for producing high purity Rebaudioside D and Rebaudioside A. The invention further provides a low-calorie fruit juice containing the purified Rebaudioside D and a process for making the low-calorie fruit juice containing the purified Rebaudioside D.
ข้อถือสิทธิ
1. น้ำผลไม้แคลอรี่ต่ำประกอบด้วย : Rebaudioside D ที่มีความบริสุทธิ์อย่างน้อย 80%, น้ำผลไม้ น้ำและส่วนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า นำส่วนประกอบทั้งหมดมาผสมได้เป็นน้ำผลไม้แคลอรี่ต่ำ
2. น้ำผลไม้แคลอรี่ต่ำตามข้อถือสิทธิ 1 นั้น ทำจากผลไม้หนึ่งชนิดหรือมากกว่า เลือกจากกลุ่มผลไม้ดังต่อไปนี้ ได้แก่ ส้ม, แอปเปิ้ล, มะนาว, apricot, เชอร์รี่, สตรอเบอร์รี่และสับปะรด
3. น้ำผลไม้แคลอรี่ต่ำตามข้อถือสิทธิ 1 นั้น ซึ่งส่วนผสมที่ได้รับการยอมรับให้ผสมในเครื่องดื่ม รวมถึงกรดซิตริก, วิตามินและ orange essence.
4. น้ำผลไม้แคลอรี่ต่ำตามข้อถือสิทธิ 1 นั้น ซึ่งประกอบด้วย Rebaudioside D 0.05-2% (w / v) ,น้ำผลไม้ 50-50% (v/v) และ ส่วนผสมที่ได้รับการยอมรับให้ใช้ในเครื่องดื่ม 0.1-3%
5. ประมาณการลงทุนของโครงการ
ในการลงทุนอุตสาหกรรมนํ้าผลไม้ควรตั้งอยู่ในบริเวณหรือทําเลที่ใกล้แหล่งผลไม้สด และจําเป็นต้องมีตลาดที่แน่นอน เช่น ร้านอาหาร ร้านค้าทั่วไป
กรณีการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตนํ้าผลไม้ขนาดกลาง กําลังการผลิตเต็มที่ 2.4 ล้านลิตร (1,000 ลิตร/ชั่วโมง) โดยใช้ชั่วโมงการทํางาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะได้นํ้าผลไม้ขนาด 250 ซีซี ประมาณ 6,000 ขวดต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1) เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 10,000,000 บาท
2) ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้างในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่า โดยมีค่าเช่า 30,000 บาทต่อเดือน
3) ค่าเครื่องจักร ได้แก่ เครื่องคั้น/อัด/กรอง 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 400,000 บาท เครื่องบรรจุขวด/ผนึกฝา 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 1,000,000 บาท
4) ค่ายานพาหนะรับผลไม้/ขนส่งสินค้า 2 คัน ราคาคันละ 400,000 บาท
5) เงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 600,000 บาท
บุคลากร การผลิตนํ้าผลไม้ขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 9 คน ประกอบด้วย
1) พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1) พนักงานควบคุมเครื่องจักร จำนวน 4 คน
1.2) พนักงานขับรถรับผลไม้สด/ส่งของ จํานวน 2 คน
1.3) พนักงานบรรจุสินค้า จํานวน 1 คน
2) พนักงานในสํานักงานและพนักงานบริหาร จํานวน 2 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1) ต้นทุนวัตถุดิบ 4,712,200 บาทต่อปี
- ผลไม้สด 2,356,000 บาทต่อปี
- ขวดพลาสติก 1,413,700 บาทต่อปี
- อื่นๆ เช่น กรดผลไม้ นํ้าตาล 942,500 บาทต่อปี
2) ค่าแรงงาน 588,000 บาทต่อปี
3) ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 230,000 บาทต่อปี
4) โสหุ้ยการผลิต 1,563,000 บาทตอปี
4.1) ค่าสาธารณูปโภค 390,000 บาทต่อปี
- ค่านํ้า 120,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 240,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 30,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง 288,000 บาทต่อปี
- ค่านํ้ามัน 288,000 บาทต่อปี
4.3 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 885,000 บาทต่อปี
กําไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 30-40 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ยวันละ 72,000 ขวด ราคาขวดละ 7 บาท คิดเป็นรายได้ 11.08 ล้านบาท
ประมาณการต้นทุนการผลิต
6. การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ตลาดนํ้าผลไม้ไทยมีอัตราการขยายตัวสูงในช่วงปี 2533-2537 และเริ่มชะลอตัวลงในปี 2538–2539 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดเริ่มมีการปรับตัวทั้งในด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งมีผู้ผลิตเข้าสู่ตลาดเป็นจํานวนมากในช่วงปี 2536-2538 จึงทําให้มีการแข่งขันทางด้านราคาโดยเฉพาะ ตลาดนํ้าผัก-ผลไม้ชนิดเข้มข้น 100% เริ่มแข่งขันกันอย่างจริงจัง ในปี 2539 โดยมีผู้ผลิตรายใหญ่ ได้แก่ มาลี ทิปโก้ ไอวี่ ยูเอฟซี สไมล์ และ เอทิพย์ ซึ่งผู้ผลิตทั้ง 2 รายหลัง เป็นนํ้าผัก-ผลไม้ประเภทพาสเจอร์ไรส์ ส่วนในปี 2540 ตลาดซบเซาลง ทั้งนี้เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกตํ่า การบริโภคลดลง เนื่องจากนํ้าผัก-ผลไม้ ถูกมองว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตทั้งผลไม้สด นํ้าตาล กระดาษ และพลาสติก เพิ่มขึ้นอย่างมาก ประกอบกับมีการปรับภาษีมูลค่า เพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 จึงทําให้ต้องมีการปรับระดับราคาขึ้น จนทําให้ผู้ผลิตเริ่มลดการผลิตลงและผู้ผลิตรายย่อยบางรายก็เลิกกิจการ ในปี 2541 หลังจากที่ความต้องการบริโภคนํ้าผัก-ผลไม้ในประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม จากกระแสชีวจิตในปี 2541 ทําให้ตลาดนํ้าผัก-ผลไม้ได้รับความนิยมอีกครั้ง จึง ส่งผลให้ความต้องการบริโภคนํ้าผัก-ผลไม้เพิ่มขึ้นได้ ส่วนปริมาณการนําเข้านํ้าผลไม้ในช่วงปี 2538-2541 มีอัตราการขยายตัวสูงมาก ราวร้อยละ 20 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นการนําเข้าน้ำผลไม้เข้มข้นเพื่อนํามาเจือจาง ส่วนการส่งออกนํ้าผลไม้ของไทย ส่วนใหญ่เป็นนํ้าสับปะรดกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการส่งออกทั้งหมด ในช่วงปี 2538-2540 การส่งออกลดลงต่อเนื่อง เพราะไทยขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตคือสับปะรด และต้องเผชิญภาวะการแข่งขันกับคู่แข่งสําคัญ คือ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์
ในปี 2542 ภาวะตลาดนํ้าผัก-ผลไม้ที่ผลิตในประเทศยังคงขยายตัวในอัตราที่ไม่สูงมากนักแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มทรงตัวถึงดีขึ้นเล็กน้อย และจากมาตรการของรัฐบาลในการกระตุ้นการใช้จ่ายโดยลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและลดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ผู้บริโภคก็ยังคงระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับผู้บริโภคบางส่วนเริ่มหันมาทํานํ้าผักสําคัญของไทยในตลาดส่งออก คือ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างประสบปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง
สําหรับในปี 2543 คาดว่าปริมาณการจําหน่ายนํ้าผัก-ผลไม้ในประเทศ (รวมนําเข้า) จะเริ่มฟื้นตัว โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.0 เป็น 265.6 ล้านลิตร เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นเป็นลําดับ ประชาชนเริ่มมีอํานาจซื้อเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรในประเทศ ทําให้คาดว่าผู้ผลิตรายใหญ่จะขยายตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น ณ ระดับราคานํ้าผัก-ผลไม้โดยเฉลี่ยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ราวร้อยละ 1.2 เป็นลิตรละ 18.90 บาท เนื่องจากผลผลิตผลไม้สดจะเพิ่มขึ้น แต่ต้น ทุนบรรจุภัณฑ์ได้แก่ พลาสติกที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก เช่นเดียวกับกระดาษ ส่งผลให้มูลค่าการจําหน่ายนํ้าผัก-ผลไม้ในประเทศ (รวมนําเข้า) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เป็น 5,188 ล้านบาท ส่วนตลาดส่งออกในปี 2543 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.2 เป็น 203 ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่า 8,526 ล้านบาท เนื่องจากคาดว่าคู่แข่งในตลาดส่งออกจะยังคงประสบปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองอยู่
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ผู้ผลิตนํ้าผลไม้ในประเทศในปัจจุบันมีอยู่ราว 103 โรงงาน โดยมีผู้ผลิตนํ้าผลไม้ขนาดกลางและขนาดย่อม (มีเงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท หรือมีคนงานไม่เกิน 200 คน) อยู่ราว 91 โรงงาน ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในภาคกลาง รองลงมา ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคใต้ ตามลําดับ จังหวัดที่มีผู้ผลิตมากที่สุดได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ (13 โรงงาน) นครปฐม (13 โรงงาน) กรุงเทพมหานคร (9 โรงงาน) สมุทรสงคราม (7 โรงงาน) สมุทรสาคร (6 โรงงาน) และสมุทรปราการ (5 โรงงาน) ตามลําดับ นอกนั้นกระจายอยู่ในภาคต่างๆ อีก 50 โรงงาน อย่างไรก็ตามผู้ผลิตรายย่อยในปัจจุบันหยุดการผลิตนํ้าผลไม้ชั่วคราว เนื่องจากภาวะตลาดในประเทศยังชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และผู้ผลิตบางรายปรับเปลี่ยนการผลิตมาเป็นการผลิตผัก-ผลไม้กระป๋องแทน
ช่องทางการจําหน่าย
การผลิตนํ้าผลไม้ในประเทศ มีสัดส่วนการผลิตเพื่อจําหน่ายในประเทศเทียบกับการส่งออกราวร้อยละ 40:60 ของมูลค่าตลาดโดยรวม ช่องทางการจัดจําหน่ายของผู้ผลิตนํ้าผลไม้ ได้แก่
1) จําหน่ายโดยตรงแก่ผู้บริโภค ผู้ผลิตรายย่อยส่งให้กับผู้ผลิตนํ้าผลไม้รายใหญ่
2) จําหน่ายผ่านคนกลาง ซึ่งเป็นผู้กระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค
7.แหล่งซื้อเครื่องจักร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น